การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม
การศึกษาแบบเรียนรวม
การศึกษาแบบเรียนรวม
หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก
หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน
แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ
จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ
จะต้องถือหลักการดังนี้
• เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
• เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
• โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
• โรงเรียนจะต้องให้บริการ
สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ
ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
• โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ
การศึกษาแบบเรียนรวมจะมีบรรยากาศที่เป็นจริงตามสภาพของสังคมในปัจจุบัน
ซึ่งทุกคนในโรงเรียนจะมีความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิความเสมอภาคในด้านการศึกษา
มีความแตกต่างกันตามศักยภาพในการเรียนรู้
มีความร่วมมือช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้
ฝึกทักษะความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข
มีความยืดหยุ่นและปฏิบัติตนตามสภาพจริงได้อย่างเหมาะสม
การศึกษาแบบเรียนรวม
มีหลักการว่า เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะเรียนรวมกันโดยโรงเรียนและครูจะต้องปรับสภาพแวดล้อม
หลักสูตรวัตถุประสงค์ เทคนิคการสอน สื่ออุปกรณ์
การประเมินผลเพื่อให้ครูและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความต้องการของเด็กทุกคนเป็นรายบุคคลได้
แนวคิดและปรัญญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน
รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน
โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล
หรือความบกพร่องเฉพาะบุคคล ซึ่งจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกคน
โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ
ทฤษฎีของการศึกษาแบบเรียนรวม
การดำเนินการศึกษาแบบเรียนรวม
มีหลักการดังนี้ทำสัญญาร่วมกันในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งองค์การสหประชาชาติ
ได้ประกาศไว้เมื่อปี คริสตศักราช 1995
ให้ทุกประเทศจัดการศึกษาแบบเรียนรวมดำเนินการตามหลักการแบ่งสัดส่วนตามธรรมชาติ
ซึ่งในสังคมหรือชุมชนหนึ่ง ๆ จะมีเด็กพิการหรือเด็กพิเศษปะปนอยู่
เด็กทั้งหมดควรอยู่ร่วมกันตามปกติ
โดยไม่มีการนำเด็กพิเศษออกจากชุมชนมารวมกันเพื่อรับการศึกษาที่เป็นการขัดแย้งกับธรรมชาตินำบุคลากรทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กมาทำงานร่วมกัน
ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ของเด็กปกติและเด็กพิเศษ ผู้บริหารโรงเรียน
ผู้ช่วยผู้บริหาร ครูประจำชั้น ครูพิเศษ และบุคลากรในชุมชนอื่น ๆ
พัฒนาเครือข่ายผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งครูทุกคนในโรงเรียนจะต้องช่วยกันทำงานไม่ถือว่าเป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง
ถ้าหากมีเด็กพิเศษในโรงเรียน รวมทั้งการพบพูดคุยและปรึกษากับผู้ปกครอง
จัดให้ผู้ปกครองเด็กพิเศษด้วยกันและผู้ปกครองเด็กปกติพบกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันหรือสนับสนุนในเรื่องต่าง
ๆ แก่กันจัดให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารและบุคลากรต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในโรงเรียนและในชุมชน
รวมทั้งจัดสรรงบประมาณทั้งภาครัฐและเอกชนในกิจกรรมร่วมระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติจัดการปรับเปลี่ยนหลักสูตร
เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและครอบคลุมถึงเด็กพิเศษทุกคนในกลุ่มเด็กปกติจัดให้มีความยืดหยุ่นในทุกสถานการณ์
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กพิเศษและเด็กปกติทุกคน
ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคลมีผลต่อระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมเพื่อไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร
อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราอาศัยประสาทสัมผัส
ได้แก่ หู ตา จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้และการรับรู้
หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสีย หรือบกพร่องไปย่อมมีผลต่อการเรียนรู้
และการรับรู้ตามไปด้วย ทำให้การเรียนรู้ของเด็กต้องล้มเหลว
เรียนไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรือเกิดข้อขัดข้องเสียก่อน ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่
ๆ ได้ 3 ประการ
1. องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา ได้แก่ สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกายของเด็กเอง
2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา ได้แก่ สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้
ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การปรับตัวทางอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน
3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษย่อมได้รับผลกระทบต่อการเรียนรู้ในด้าน ต่าง ๆ
และหากเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ ซ้อนจะมีผลกระทบต่อการเรียนรู้มากขึ้นไปอีก
ซึ่งแยกพิจารณาถึงผลกระทบของความบกพร่องที่มีต่อการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการแต่ละประเภท
การศึกษาแบบเรียนรวม
การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง
การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
นั่น คือ การสอนที่ดี
เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน
การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good
Teaching) ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ
ทาง (Wilson , Kliewer, East, 2007) จากความหมายดังกล่าว
อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ
หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้
และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน”
ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ
อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ
โดยไม่มีการแบ่งแยก การเรียนรวมยังแบ่งออกเป็นการเรียนเต็มเวลา และการเรียนรวมบางเวลา
การเรียนรวมเต็มเวลา (Full Inclusion) หมายถึง
การให้เข้าเรียนในชั้นเรียนรวมตลอดทั้งวันเช่นเดียวกับการมาโรงเรียนตามปกติของนักเรียนทั้งหลาย
การเรียนรวมบางเวลา (Partial Inclusion) หมายถึง
การให้เด็กเข้าเรียนในชั้นเรียนรวมในบางชั่วโมงของ 1 วัน หรือ บางชั่วโมงของเวลาเรียนใน
1 สัปดาห์ เป็นการเข้าเรียนไม่เต็มเวลาของการเรียนปกติ
แนวคิดการศึกษาแบบเรียนรวม
การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กทั่วไปในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปเป็นการเสนอให้นักการศึกษาพิจารณาคำถึงคุณค่าของการพัฒนาชีวิตคน
ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทุกด้านของวิถีแห่งชีวิต เพื่อให้มีความสามารถ ความรู้
และทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีคุณค่า
และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น
เพราะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการประหยัด
และไม่ต้องรอคอยงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน
การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งต้องสิ้นเปลืองเงินงบประมาณจำนวนมาก
หากแต่จัดให้เด็กพิเศษได้แทรกเข้าไปเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปในระดับปฐมวัย
ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
ซึ่งมีโรงเรียนตั้งอยู่ทั่วไปทั้งประเทศอยู่แล้ว
พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542
ส่งผลให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทั้งด้านการแพทย์การจัดการศึกษาอาชีพและบุคคลทั่วไปในสังคมทั้งภาครัฐรวมทั้งเอกชนให้ความตระหนักต่อการพัฒนาคนพิการ
เปิดโอกาสให้คนพิการได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมมากยิ่งขึ้นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คนพิการพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเองและดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี
( กระทรวงศึกษาธิการ, 2542)
นักการศึกษาพิเศษมีความเชื่อในเรื่อง แนวคิดการเรียนรวมว่า
แนวคิดการเรียนรวมมีบทบัญญัติ 10 ประการ ดังนี้ (เบญจา ชลธาร์นนท์,2544)
1. โอกาสที่เท่าเทียมกัน (Equal Opportunity ) ทุกคนควรได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน
ไม่ว่าเขาจะยากดีมีจน หรือพิการหรือไม่ก็ตาม
2. ความหลากหลาย (Diversity) ในมวลหมู่มนุษย์ย่อมมีความหลากหลายแตกต่างกัน
จะให้เหมือนกันทุกคนไม่ได้ การให้การศึกษาจะต้องยอมรับความแตกต่างในหมู่ชน
การศึกษาที่ให้จะต้องแตกต่างกันแต่ทุกคนจะต้องเคารพในความหลากหลาย
3. ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัว (Normalization) ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัวและจะต้องยอมรับความปกตินั้น
ๆ ทุกคนอยากเหมือนกัน ไม่มีใครอยาก “ ผ่าเหล่าผ่ากอ ” ทุกคนจึงควรได้รับการศึกษาไปพร้อม
ๆ กัน ห้ามให้การศึกษาแยกตามเหล่า
4. สังคมที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย (Multicultural Society) ในหนึ่งสังคมย่อมมีความหลากหลายวัฒนธรรม
เราต้องยอมรับความหลากหลายเหล่านั้น
การให้การศึกษาจะต้องคำนึงถึงความหลากหลายวัฒนธรรมในสังคม
5. ศักยภาพ (Potential) มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะโง่หรือฉลาดย่อมมีศักยภาพทั้งนั้น
แต่ละคนมีศักยภาพไม่เท่ากันการให้การศึกษาต้องให้จนบรรลุศักยภาพของแต่ละคน
ไม่ใช่ให้การศึกษาในปริมาณที่เท่ากันคุณภาพเท่ากัน
ซึ่งไม่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละคน
6. มนุษยนิยม (Humanism) คนเก่งคือคนที่เข้าใจมวลหมู่มนุษย์
และช่วยให้มวลหมู่มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกันได้ ไม่ใช่คนเก่งแต่วิชาการแต่ทำให้เกิดการแตกแยก
7. กระบวนการสังคมประกิต (Socialization) มนุษย์เป็นสังคม
เราไม่สามารถจะแยกมนุษย์ออกจากกันได้ เพราะธรรมชาติของเขาต้องมีสังคม
การให้การศึกษาโดยการแยกออกไป จึงไม่สอดคล้องกับการเป็นมนุษย์
8. ความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualization) มนุษย์แต่ละคนมีลักษณะเฉพาะ
ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน
การให้การศึกษาถึงแม้จะให้เรียนรวมกันไปก็ต้องการเฉพาะของแต่ละคน
9. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Dependency) มนุษย์เราควรจะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้สังคมน่าอยู่
10. สภาวะแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least Restrictive
Environment) การให้การศึกษาจะต้องให้ในสภาวะที่เข้าเรียนได้
และจะต้องนำเขาสู่สังคมปกติโดยเร็วที่สุด
ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการนั้นต้องคำนึงถึงความต้องการจำเป็น
ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษนั้น
เป็นการจัดการด้านการเรียนการสอน และการบริการให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องด้านต่างๆ
ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม
และสติปัญญาให้ได้รับการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย จิตใจ และความสามารถ
ซึ่งแท้ที่จริงแล้วหลักในการจัดการศึกษาพิเศษที่สำคัญก็คือ
การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนให้ทุกคนได้รับประโยชน์เต็มที่
รูปแบบการเรียนรวม
ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติต้องอาศัยรูปแบบการเรียนรวมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนรวม
ซึ่งรูปแบบการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ โดยที่ ด๊าค (Daeck, 2007)
ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมเต็มเวลาไว้ 3 รูปแบบใหญ่ 5 รูปแบบเล็ก ดังนี้
1. รูปแบบครูที่ปรึกษา (Consultant Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้สอนทักษะแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เนื่องจากครูที่สอนชั้นเรียนรวมสอนเด็กแล้ว
แต่ทักษะยังไม่เกิดกับเด็กคนนั้นครูการศึกษาพิเศษต้องสอนทักษะเดิมซ้ำอีก
จนกระทั่งเด็กเกิดทักษะนั้น
สำหรับรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะรับผิดชอบเด็กจำนวนหนึ่ง เป็นจำนวนจำกัด
ครูปกติและครูการศึกษาพิเศษต้องมีการพบปะเพื่อประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทักษะของเด็ก
และมีการวางแผนร่วมกัน
รูปแบบนี้เหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่มากนัก
ซึ่งผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงานที่ Westbrook Walnut Grove : High School
ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดรูปแบบการเรียนรวม แบบครูที่ปรึกษา
2. รูปแบบการร่วมทีม ( Teaming Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับครูที่สอนชั้นปกติ
เช่น ในสาย ป.2 ( ครูที่สอนชั้นป.2 / 1 และ ป.2 / 2) ครูการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ครูปกติเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับวิธีสอนการมอบหมายงานหรือการบ้าน การปรับวิธีสอบ
การจัดการด้านพฤติกรรม มีการวางแผนร่วมกันสม่ำเสมอ เช่น สัปดาห์ละ 1 – 2
ครั้ง ครูที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานวางแผนร่วมกันเป็นทีมในการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative / Co Teaching
Model) ในรูปแบบนี้ทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมมือกันในหลายลักษณะในการสอนเด็กทุกคน
ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติในห้องเรียนปกติ
ร่วมมือกันรับผิดชอบในการวางแผน การสอน การวัดผลประเมินผล
การดูแลเกี่ยวกับระเบียบวินัยและพฤติกรรมของเด็กผู้เรียนจะได้รับบริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย
ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนที่จำเป็น ตลอดจนการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน
ในรูปแบบนี้ครูผู้รับผิดชอบจะต้องประชุมกันเพื่อวางแผน
เพื่อให้การเรียนรวมดำเนินไปด้วยดีอาจจำแนกออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้ 5 รูปแบบ คือ
3.1 คนหนึ่งสอนคนหนึ่งช่วย (One
Teacher-One Supporter) เป็นการสอนที่ครู 2 คน
ร่วมกันสอนชั้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน
ครูคนที่เชี่ยวชาญในเนื้อหากว่าเป็นผู้สอน
ส่วนครูอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ
น้อยกว่าเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนอาจถามครูคนใดคนหนึ่งก็ได้
เมื่อนักเรียนมีคำถาม เพราะมีครู 2 คน อยู่ในห้องเรียนในเวลาเดียวกัน
3.2 การสอนพร้อม ๆ กัน (Parallel Teaching) เป็นการแบ่งเด็กในหนึ่งห้องเรียนออกเป็นกลุ่มไปพร้อม
ๆ กัน หลังจากบรรยายเสร็จ ครูอาจมอบงานให้นักเรียนทำไปพร้อม ๆ กัน
และให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน การสอนแบบนี้เหมาะสำหรับห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่มากนัก
ครูจะได้มีโอกาสดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ครูสามารถตอบคำถามนักเรียนได้แทบทุกคน
และครูอาจอธิบายซ้ำหรือสอนซ้ำได้ สำหรับเด็กบางคนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาบางตอน
3.3 ศูนย์การสอน (Station
Teaching) บางครั้งอาจเรียกศูนย์การเรียน (Learning
Centers) ในรูปแบบนี้ครูจะแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นตอน ๆ
แต่ละตอนจะจัดวางเนื้อหาได้ตามแหล่งต่าง ๆ( Stations) ภายในห้องเรียน
ให้นักเรียนตามเวลาที่กำหนด
และหมุนเวียนกันจนครบทุกศูนย์จึงจะได้เนื้อหาวิชาครบถ้วนตามที่ครูกำหนด ข้อดีของรูปแบบนี้คือครูอาจใช้เวลาในขณะที่เด็กอื่นกำลังเรียนรู้ด้วยตนเองสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล
ทำให้เด็กเข้าในสิ่งที่เรียนมากขึ้น
3.4 การสอนทางเลือก (Alternative
Teaching Design) ในการสอนแบบนี้จะต้องมีครูอย่างน้อย 2 คน ใน 1
ห้องเรียน ครูคนแรกจะสอนเนื้อหาวิชาแก่เด็กทั้งชั้น
หลังจากนั้นจึงแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม
ครูคนหนึ่งจะสอนกลุ่มเด็กที่เก่งกว่าเพื่อให้ได้เนื้อหาและกิจกรรมเชิงลึกในขณะที่ถูกอีกคนหนึ่งสอนกลุ่มเด็กที่อ่อนกว่า
เพื่อให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมตามที่ตนมีความสามารถข้อดีของการสอบแบบนี้คือ
เด็กที่เก่งได้เลือกเรียนในสิ่งที่ยาก
ขณะที่เด็กที่อ่อนได้เลือกเรียนตามศักยภาพของตน
ครูมีโอกาสสอนซ้ำในทักษะเดิมสำหรับเด็กที่ยังไม่เก่งในทักษะนั้น ๆ
เหมาะสำหรับชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์
หรือวิชาอื่นว่ามีเนื้อหายากง่ายตามลำดับของเนื้อหาวิชา
3.5 การสอนเป็นทีม (Team
Teaching) เป็นรูปแบบที่ครูมากกว่า 1 คน
รวมกันสอนห้องเรียนเดียวกันในเนื้อหาเดียวกัน
เป็นการสอนทั้งห้องเรียนแต่ไม่จำเป็นต้องสอนในเวลาเดียวกันหากมีครูสอนมากกว่า 1 คน
ในเวลาเดียวกัน ครูอาจเดินไปรอบ ๆ ห้องและช่วยกันสอนนักเรียนเป็นรายบุคคล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาในการเรียนเนื้อหาวิชา
1.ความหมายและความสำคัญของการเรียนรวม
การเรียนรวม หมายถึง
การศึกษาแบบเรียนรวม ศูนย์การศึกษาของสภาสถาบันราชภัฎทั้ง 6 ศูนย์ คือ
สถาบันราชภัฎสวนดุสิต เชียงใหม่ พิบูลย์สงคราม นครราชสีมา และสงขลา
ได้ร่วมกันให้คำจำกัดความการศึกษาแบบเรียนรวมของประเทศไทย
ไว้ว่าการศึกษาแบบเรียนรวม คือ การศึกษาสำหรับ ทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน
ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
และมีนักการศึกษาต่างประเทศ ได้ให้คำจำกัดความของการศึกษาแบบเรียนรวม ว่าหมายถึง
การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกันเป็นหลัก นั่นคือ การสอนที่ดี
เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน
การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี
ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ
ทาง จากความหมายดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม
เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ
หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้
และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน
“ ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม
ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
การเรียนรวมมีความสำคัญ คือ เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กทั่วไปในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปเป็นการเสนอให้นักการศึกษาพิจารณาคำถึงคุณค่าของการพัฒนาชีวิตคน
ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทุกด้านของวิถีแห่งชีวิต เพื่อให้มีความสามารถ ความรู้
และทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีคุณค่า
และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น
เพราะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการประหยัด
และไม่ต้องรอคอยงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน
การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งต้องสิ้นเปลืองเงินงบประมาณจำนวนมาก
หากแต่จัดให้เด็กพิเศษได้แทรกเข้าไปเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปในระดับปฐมวัย
ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
2. ความหมายและความสำคัญของการเรียนร่วม
การเรียนร่วม หมายถึง การนำนักเรียนพิการ หรือมีความพกพร่อง เข้าไปในระบบการศึกษาปกติ
มีการร่วมกิจกรรม และใช้เวลาว่างช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
ระหว่างนักเรียนพิการหรือที่มีความพกพร่องกับนักเรียนทั่วไป
ความสำคัญของการเรียนร่วม คือ
เป็นการจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
มีโอกาสเข้าไปในระบบการศึกษาปกติ โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
ได้เรียนและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กทั่วไป
โดยมีครูทั่วไปและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือและ รับผิดชอบร่วมกัน (Collaboration)
และการจัดการเรียนร่วม อาจกระทำได้หลายลักษณะ วิธีการจัดการเรียนร่วม
ซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในหลายประเทศและประสบความสำเร็จ ซึ่งมีรูปแบบการจัดเรียนร่วมได้
6 รูปแบบ ดังนี้
1. ชั้นเรียนปกติเต็มวัน
2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษาหารือ
3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอน
4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม
5. ชั้นพิเศษและชั้นเรียนเรียนปกติเด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ
6. ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ
3.การเรียนรวมกับการเรียนร่วมแตกต่างกันตรงไหน
การเรียนรวม เด็กเลือกโรงเรียน
ไม่ใช่โรงเรียนเลือกรับเด็กเหมือนอย่างเช่นการเรียนร่วม
และเด็กทุกคนควรมีสิทธิจะเรียนรวมกันโดยทางโรงเรียนและครูจะต้องเป็นผู้ปรับสภาพแวดล้อม
หลักสูตร การประเมินผล วัตถุประสงค์ ฯลฯ
เพื่อครูและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองตอบความต้องการของนักเรียนทุกคนและเฉพาะบุคคลได้
สรุป
การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง
การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
นั่น คือ การสอนที่ดี
เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน
การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good
Teaching) ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ
ทาง (Wilson , Kliewer, East, 2007) จากความหมายดังกล่าว
อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม
เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ
หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้
และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน”
ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ
อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ
โดยไม่มีการแบ่งแยก การเรียนรวมยังแบ่งออกเป็นการเรียนเต็มเวลา
และการเรียนรวมบางเวลา การเรียนรวมเต็มเวลา (Full Inclusion) หมายถึง
การให้เข้าเรียนในชั้นเรียนรวมตลอดทั้งวันเช่นเดียวกับการมาโรงเรียนตามปกติของนักเรียนทั้งหลาย
การเรียนรวมบางเวลา (Partial Inclusion) หมายถึง
การให้เด็กเข้าเรียนในชั้นเรียนรวมในบางชั่วโมงของ 1 วัน หรือ
บางชั่วโมงของเวลาเรียนใน 1 สัปดาห์ เป็นการเข้าเรียนไม่เต็มเวลาของการเรียนปกติ
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน
โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล
หรือความบกพร่องเฉพาะบุคคล ซึ่งจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกคน
โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ
ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติต้องอาศัยรูปแบบการเรียนรวมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนรวม
ซึ่งรูปแบบการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ โดยที่ ด๊าค (Daeck, 2007)
ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมเต็มเวลาไว้ 3 รูปแบบใหญ่ 5 รูปแบบเล็ก ดังนี้
1. รูปแบบครูที่ปรึกษา (Consultant
Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้สอนทักษะแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เนื่องจากครูที่สอนชั้นเรียนรวมสอนเด็กแล้ว
แต่ทักษะยังไม่เกิดกับเด็กคนนั้นครูการศึกษาพิเศษต้องสอนทักษะเดิมซ้ำอีก
จนกระทั่งเด็กเกิดทักษะนั้น
สำหรับรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะรับผิดชอบเด็กจำนวนหนึ่ง เป็นจำนวนจำกัด
ครูปกติและครูการศึกษาพิเศษต้องมีการพบปะเพื่อประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทักษะของเด็ก
และมีการวางแผนร่วมกัน
รูปแบบนี้เหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่มากนัก
ซึ่งผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงานที่ Westbrook Walnut Grove : High School
ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดรูปแบบการเรียนรวม แบบครูที่ปรึกษา
2. รูปแบบการร่วมทีม ( Teaming Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับครูที่สอนชั้นปกติ
เช่น ในสาย ป.2 ( ครูที่สอนชั้นป.2 / 1 และ ป.2 / 2)
ครูการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ครูปกติเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับวิธีสอนการมอบหมายงานหรือการบ้าน การปรับวิธีสอบ
การจัดการด้านพฤติกรรม มีการวางแผนร่วมกันสม่ำเสมอ เช่น สัปดาห์ละ 1 – 2
ครั้ง
ครูที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานวางแผนร่วมกันเป็นทีมในการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative / Co Teaching
Model) ในรูปแบบนี้ทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมมือกันในหลายลักษณะในการสอนเด็กทุกคน
ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติในห้องเรียนปกติ
ร่วมมือกันรับผิดชอบในการวางแผน การสอน การวัดผลประเมินผล
การดูแลเกี่ยวกับระเบียบวินัยและพฤติกรรมของเด็กผู้เรียนจะได้รับบริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย
ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนที่จำเป็น
ตลอดจนการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน
ในรูปแบบนี้ครูผู้รับผิดชอบจะต้องประชุมกันเพื่อวางแผน
เพื่อให้การเรียนรวมดำเนินไปด้วยดีอาจจำแนกออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้ 5 รูปแบบ คือ
3.1 คนหนึ่งสอนคนหนึ่งช่วย (One
Teacher-One Supporter) เป็นการสอนที่ครู 2 คน
ร่วมกันสอนชั้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน
ครูคนที่เชี่ยวชาญในเนื้อหากว่าเป็นผู้สอน
ส่วนครูอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ
น้อยกว่าเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนอาจถามครูคนใดคนหนึ่งก็ได้
เมื่อนักเรียนมีคำถาม เพราะมีครู 2 คน อยู่ในห้องเรียนในเวลาเดียวกัน
3.2 การสอนพร้อม ๆ กัน (Parallel Teaching) เป็นการแบ่งเด็กในหนึ่งห้องเรียนออกเป็นกลุ่มไปพร้อม
ๆ กัน หลังจากบรรยายเสร็จ ครูอาจมอบงานให้นักเรียนทำไปพร้อม ๆ กัน
และให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน
การสอนแบบนี้เหมาะสำหรับห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่มากนัก
ครูจะได้มีโอกาสดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ครูสามารถตอบคำถามนักเรียนได้แทบทุกคน
และครูอาจอธิบายซ้ำหรือสอนซ้ำได้ สำหรับเด็กบางคนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาบางตอน
3.3 ศูนย์การสอน (Station
Teaching) บางครั้งอาจเรียกศูนย์การเรียน (Learning
Centers) ในรูปแบบนี้ครูจะแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นตอน ๆ
แต่ละตอนจะจัดวางเนื้อหาได้ตามแหล่งต่าง ๆ( Stations) ภายในห้องเรียน
ให้นักเรียนตามเวลาที่กำหนด
และหมุนเวียนกันจนครบทุกศูนย์จึงจะได้เนื้อหาวิชาครบถ้วนตามที่ครูกำหนด
ข้อดีของรูปแบบนี้คือครูอาจใช้เวลาในขณะที่เด็กอื่นกำลังเรียนรู้ด้วยตนเองสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล
ทำให้เด็กเข้าในสิ่งที่เรียนมากขึ้น
3.4 การสอนทางเลือก (Alternative
Teaching Design) ในการสอนแบบนี้จะต้องมีครูอย่างน้อย 2 คน ใน 1
ห้องเรียน ครูคนแรกจะสอนเนื้อหาวิชาแก่เด็กทั้งชั้น
หลังจากนั้นจึงแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม
ครูคนหนึ่งจะสอนกลุ่มเด็กที่เก่งกว่าเพื่อให้ได้เนื้อหาและกิจกรรมเชิงลึกในขณะที่ถูกอีกคนหนึ่งสอนกลุ่มเด็กที่อ่อนกว่า
เพื่อให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมตามที่ตนมีความสามารถข้อดีของการสอบแบบนี้คือ
เด็กที่เก่งได้เลือกเรียนในสิ่งที่ยาก
ขณะที่เด็กที่อ่อนได้เลือกเรียนตามศักยภาพของตน
ครูมีโอกาสสอนซ้ำในทักษะเดิมสำหรับเด็กที่ยังไม่เก่งในทักษะนั้น ๆ เหมาะสำหรับชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์
หรือวิชาอื่นว่ามีเนื้อหายากง่ายตามลำดับของเนื้อหาวิชา
3.5 การสอนเป็นทีม (Team
Teaching) เป็นรูปแบบที่ครูมากกว่า 1 คน
รวมกันสอนห้องเรียนเดียวกันในเนื้อหาเดียวกัน
เป็นการสอนทั้งห้องเรียนแต่ไม่จำเป็นต้องสอนในเวลาเดียวกันหากมีครูสอนมากกว่า 1 คน
ในเวลาเดียวกัน ครูอาจเดินไปรอบ ๆ ห้องและช่วยกันสอนนักเรียนเป็นรายบุคคล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาในการเรียนเนื้อหาวิชา
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ถือว่า เป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน
ไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กทั่วไป หรือเด็กคนใดที่มีความต้องการพิเศษ
โดยโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีพในสังคมร่วมกันได้อย่างมีความสุขและยอมรับซึ่งกัน
และการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็น
การให้โอกาสเด็กพิการได้เรียนอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่กับเด็กทั่วไป
ในสภาพห้องเรียนปกติ ซึ่งหากได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีแล้ว
เด็กพิการสามารถประสบความสำเร็จได้
การเรียนรวมทำให้เด็กพิการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กทั่วไปและรอดพ้นจากการถูกตีตราว่าเป็นเด็กพิการ
ทำให้เด็กทั้งสองกลุ่มยอมรับซึ่งกันและกัน
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ให้โอกาสแก่คนพิการได้พัฒนาศักยภาพทุกด้านในระบบโรงเรียน
แม้ว่า การจัดการศึกษาพิเศษให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ซึ่งเป็นบุคคลส่วนน้อยของประเทศแต่ก็ เป็นการจัดการศึกษาที่ต้องลงทุนสูงทั้งด้านการเงิน
เวลา ทรัพยากร ทุกด้าน หลายคนอาจมองว่าเป็นภาระของประเทศ แต่โดยสิทธิมนุษยชน
เขาต้องได้รับการดูแลเพราะไม่ใช่ว่าเขาเลือกเกิดเองได้ รัฐ และนักการศึกษา
ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ผุ้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนชุมชนในสังคม ต้องรับทราบปัญหาและให้โอกาสเขาได้เรียนรู้ตามศักยภาพที่มีอยู่
เพื่อสามารถพัฒนาตนเองได้ และไม่ให้เป็นภาระต่อส่วนรวมในสังคมต่อไป
ที่มา
พระจันทร์รุ่งสาง.[online].http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10 .การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม. สืบค้นเมือ่ 12/09/2558 .
ฉวีวรรณ โยคิน.[online].http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177. การศึกษาแบบเรียนรวม. สืบค้นเมือ่ 12/09/2558 .
จินตหรา เขาวงค์.[online]. http://khaowongmsu.blogspot.com/2010/10/blog-post.html.การเรียนรวมและการเรียนร่วม. สืบค้นเมือ่ 12/09/2558 .
พระจันทร์รุ่งสาง.[online].http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10 .การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม. สืบค้นเมือ่ 12/09/2558 .
ฉวีวรรณ โยคิน.[online].http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177. การศึกษาแบบเรียนรวม. สืบค้นเมือ่ 12/09/2558 .
จินตหรา เขาวงค์.[online]. http://khaowongmsu.blogspot.com/2010/10/blog-post.html.การเรียนรวมและการเรียนร่วม. สืบค้นเมือ่ 12/09/2558 .